วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

วิธีการทำ

วิธีการสานตะกร้า

  1. นำไม่ไผ่มาตัดเป็นท่อนเล็กๆๆ ให้เท่ากัน
2 .จักตอกให้สวยงานทำให้เรียบ

 3.สานตะกร้าให้เป็นลวดลายต่างๆๆ

4.ได้ตะกร้าที่สวยงาม
.

 

ความหมาย

 ความหมาย


เครื่องจักสาน คือ เครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ไผ่หรือหวาย จากฝีมือความคิด ภูมิปัญญาของชาวบ้านมีลักษณะรูปทรงแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นทั้งนี้ขึ้น อยู่กับภูมิประเทศ วัสดุอุปกรณ์คตินิยม และอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆ

คำว่า “ จักสาน” คำว่า จัก คือ การทำให้เป็นแฉก เป็นหยักๆ ด้วยฟันเลื่อย หรืออีกวิธีการหนึ่ง การที่ชาวบ้านใช้คมมีดผ่าไม้ไผ่แล้วทำให้เป็นเส้นบางๆ วิธีการอย่างนี้ก็เรียกว่า จัก เช่นกัน ส่วนไม้ไผ่ หรือ หวาย ที่จักออกมาเป็นเส้นบางๆ นั้นเรียกว่า ตอก ถึงตอนนี้การที่ชาวบ้านนำตอกมาขัดกันจนเกิดลวดลายที่ต้องการ เราเรียกว่า สาน ต่อจากนั้นแล้วก็จะเป็นการสร้างสรรค์ให้เกิดรูปทรงต่างๆ จนท้ายที่สุดเป็นภาชนะสามารถนำไปใช้สอยได้ตามต้องการ

 

วัสดุอุปกรณ์

ขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ


การเตรียมวัตถุดิบ

วัตถุดิบในการจักสาน ที่ใช้กันทั่วไปมีหลายอย่างได้แก่ ใบเตย ลำเจียกหรือปาหนัน
ผักตบชวา ย่านลิเพา กระจูด กก ใบตาล ใบลาน หวาย ไม้ไผ่ แต่ที่นิยมนำมาใช้ทำ
งานจักสานมากที่สุดคือไม้ไผ่และหวาย เนื่องจากคงทน ราคาไม่แพง วัตถุดิบหาได้
ง่ายมีอยู่ทั่วไป
การเตรียมไม้ไผ่ เลือกลำต้นที่มีความตรง ลำปล้องยาว ผิวเรียบเป็นมัน หลังจากตัด
ออกมาจากกอ นำมาแช่น้ำตลอดทั้ง ลำเพื่อให้ไม้ไผ่มีความสดและป้องกันมด ปลวก
มอด เจาะไช เมื่อจะนำมาใช้งานจึงตัดเอาตามขนาดที่ต้องการมาผ่าออกแล้วนำไป
จักเป็นตอกแล้วตากแดดให้แห้ง
การเตรียมหวาย ต้องแช่น้ำให้หวายอ่อนตัวเพื่อความสะดวกในการทำงาน หวาย
สามารถใช้ได้ทั้งเส้น นำไปเป็นก้นกระบุง ตะกร้า หรือเลียดให้เป็นเส้นเล็กๆใช้ผูก
มัด ตกแต่งลวดลาย

การสาน หลังจากเตรียมวัตถุดิบ ในการทำงานจักสานแล้วก็ถึงขั้นลงมือสาน ช่าง
สานจะต้องรู้ว่า ควรใช้ลายสานแบบใด สำหรับเครื่องจักสานแต่ละชนิดเช่น ป้าน
น้ำชาใช้ลายหนึ่ง กระบุงใช้ลายสาม กระด้งใช้ลายขอ ช่างจักสานที่มีความชำนาญ
มากจะสามารถสานลายต่างๆได้อย่างรวดเร็วและคล่องแคล่ว เป็นระเบียบ และสวย
                                        




ลวดลายในการจักสาน แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 3 ลักษณะคือ
1. ลวดลายพื้นฐาน ถือเป็นลายแม่บท สำหรับการสานทั่วไป มี 6 ลาย คือ
1.1 ลายขัด 1.2 ลายสอง 1.3 ลายสาม
1.4 ลายตาหลิ่ว 1.5 ลายขอ 1.6 ลายบองหยอง
2. ลวดลายพัฒนา เป็นลายที่ช่างจักสานในอดีตได้คิดค้นพัฒนาขึ้นมา ที่ปรากฏทั่ว
ไป มี 5 ลาย คือ
2.1 ลายบ้า 2.2 ลายดีด้าน 2.3 ลายเฉลาเกล็ดเต่า 2.4 ลายดอกขิง 2.5 ลายดีหล่ม
3. ลวดลายประดิษฐ์ เป็นลวดลายที่คิดค้นประดิษฐ์ขึ้นเป็นลักษณะเฉพาะของช่าง
เครื่องมือทำเครื่องจักสานของไทย โดย นายวิบูลย์ ลี้สุวรรณ
           การทำเครื่องจักสานเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านโบราณอย่างหนึ่งที่ทำสืบทอดกันมาช้า นานแล้วเครื่องมือที่ใช้ทำเครื่องจักสานก็เป็นเครื่องมือพื้นบ้านเพียงไม่ กี่ชิ้นที่ชาวบ้านมักทำขึ้นใช้เอง เครื่องมือสำคัญที่ใช้ทำเครื่องจักสานของไทย ได้แก่

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
หัวข้อ
มีด
           เครื่องมือสำหรับแปรรูปวัตถุดิบจากธรรมชาติ มาเป็นวัสดุสำหรับทำเครื่องจักสานมีดที่ใช้กันทั่วไปเป็นมีดเหล็กกล้า เนื้อแกร่ง มี  ชนิด คือ
           มีดสำหรับผ่าและตัด  มักเป็นมีดขนาดใหญ่ สันหนา เช่น มีดโต้ หรือมีดอีโต้ใช้ตัดและผ่าไม้ไผ่ หวาย หรือไม้อื่นๆ ที่จะใช้ทำเครื่องจักสานให้มีขนาดตามต้องการ ก่อนที่จะนำไป เหลา จัก เป็นตอกหรือเป็นเส้นต่อไป
           มีดตอก มีดชนิดนี้มีประโยชน์ใช้สอยตามชื่อคือ ใช้สำหรับจักตอกหรือเหลาหวายเป็นมีดปลายเรียวแหลม ปลายและด้ามงอน ส่วนมากตัวมีดจะสั้นกว่าด้าม เพราะในการจักหรือเหลาตอก จะใช้ด้ามสอดเข้าไประหว่างแขนกับลำตัวเพื่อให้จักหรือเหลาตอกได้สะดวก มีดชนิดนี้จะมีสันบางเพื่อให้จักได้ดี ส่วนปลายที่งอนแหลมนั้นจะใช้เจาะหรือคว้านได้ด้วย มีดตอกทั่วไปจะมีรูปร่างคล้ายคลึงกันดังกล่าวแล้ว แต่อาจะมีรูปร่างพิเศษแตกต่างกันบ้างตามความนิยมของแต่ละถิ่นและช่างจักสาน แต่ละคน

เครื่องมือที่ใช้ในการทำเครื่องจักสาน


เหล็กหมาด
           เหล็กปลายแหลม ใช้สำหรับเจาะ ไช งัด แงะ มี ๒ ชนิดคือ
           เหล็กหมาดปลายแหลม เป็นเหล็กปลายกลมแหลมมีด้ามทำด้วยไม้ ใช้สำหรับไชหรือแกะ มักทำด้วยเหล็กก้านร่มหรือซี่ลวดรถจักรยาน ฝนปลายให้แหลม ใช้ไชหรือแงะเครื่องจักสานเพื่อร้อยหวายผูกโครงสร้าง ผูกขอบหรือเจาะหูกระบุง ตะกร้า เป็นต้น
           เหล็กหมาดปลายหอก เป็นเหล็กแหลมปลายแบนอย่างปลายหอก ใช้เจาะหรือไชไม้ให้เป็นรู มักใช้เจาะรูเครื่องจักสานเมื่อต้องการผูกหวายเสริมโครงสร้างให้แข็งแรง
คีมไม้
           คีมไม้  เป็น เครื่องมือจำเป็นในการทำเครื่องจักสาน รูปร่างคล้ายคีมทั่วไปแต่มีขนาดใหญ่และทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ไม้มะค่า แก่นไม้มะขาม คีมจะใช้หนีบปากภาชนะจักสานเพื่อเข้าขอบ เช่น ใช้หนีบขอบกระบุงตะกร้า กระจาด ขณะเข้าขอบปากเพื่อผูกหวายที่ขอบให้แน่น คีมจะช่วยให้ช่างจักสานเข้าขอบภาชนะจักสานได้สะดวกโดยไม่ต้องใช้ผู้ช่วย
           นอกจากเครื่องมือสำคัญในการทำเครื่องจักสานดังกล่าวแล้ว การทำเครื่องจักสานยังอาจจะมีเครื่องมืออย่างอื่นอีก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาทำเครื่องจักสาน เช่น การเหลาหวายที่จักเป็นเส้นแล้วให้เรียบเสมอกัน ช่างจักสานจะใช้ฝากระป๋องหรือสังกะสี มาเจาะรูให้มีขนาดต่างกันจากรูใหญ่ไปเล็ก แล้วสอดเส้นหวายเข้าไปในรูแล้วชักผ่านออกไป ความคมของสังกะสีจะครูดให้ผิวเส้นหวายเรียบและมีขนาดเสมอกัน เรียกว่า "ชักเลียด" การชักเลียดนั้นจะต้องชักจากรูใหญ่ไปหารูเล็ก การทำเครื่องจักสานย่านลิเภาก็ใช้เครื่องมือชนิดเดียวกันนี้ แต่เรียกว่า "ชักแป้น"นอกจากเครื่องมือเหล่านี้แล้ว ช่างจักสานบางท้องถิ่นอาจจะมีเครื่องมือพิเศษเฉพาะตัวแตกต่างกันไปอีกก็ได้ ในปัจจุบันมีผู้ประดิษฐ์เครื่องจักและเหลาตอกด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขึ้นใช้ ช่วยให้จักและเหลาตอกได้รวดเร็วขึ้น แต่กระนั้นก็ตาม ตอกที่จักและเหลาด้วยมือจะเรียบและประณีตกว่า เมื่อได้ตอกแล้วจึงนำตอกไป "สาน" เป็นเครื่องจักสานให้มีรูปทรงและลวดลายตามความต้องการการจักหรือการทำไม้ไผ่ เป็นตอก แล้วสานเป็นภาชนะเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เป็นขั้นตอนสำคัญคนไทยจึงเรียกหัตถกรรมที่ทำขึ้นด้วยวิธีการนี้ว่า "เครื่องจักสาน"
           การทำเครื่องจักสานของไทยก็ทำขึ้นตามกระบวนการดังกล่าว เริ่มจากการ "จัก" คือการเอามีดผ่าไม้ไผ่ หวาย หรือวัตถุดิบอื่นๆ ให้แตกแยกออกจากกันเป็นเส้นบางๆ แล้ว "สาน" เป็นเครื่องจักสานประเภทต่างๆ ให้มีรูปทรงสอดคล้องกับการใช้สอย และขนบนิยมของท้องถิ่น การใช้เส้นตอกหรือวัสดุที่มีลักษณะเป็นเส้นอื่นๆ มาขัดกัน เริ่มจากการสานอย่าง่ายๆ ด้วย "ยก" ขึ้นเส้นหนึ่ง แล้ว "ข่ม" ลงเส้นหนึ่งสลับกันไป เรียกว่าลายขัด หรือลายหนึ่ง จนถึงการสอดและขัดแปลกออกไปเป็นลายที่ยากขึ้น เช่น ลายสอง ลายสาม จนถึงลายที่มีลักษณะพิเศษออกไปอย่างลายเฉลว หรือ ลายตาเข่ง ลายดอกพิกุล และลายอื่นๆ ที่ช่วยให้เครื่องจักสานมีความสวยงามควบคู่กับประโยชน์ใช้สอย

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

ลวดลายการจักสาน


      ในการสานรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งมีกระบวนการสานตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงขั้นสุดท้ายจนสา เร็จผล
และทา ให้ผลิตภัณฑ์มีความสวยงามมากน้อยซึ่งขึ้นอยู่กับลายในการสานลายต่างๆใบงานจักสานมีลายขัด
ธรรมดา ลายสอง ลายสาม ลายตาชะลอม ลายหกเหลี่ยม
ลายต่างๆที่กล่าวมาเป็นลายหลัก เรายังสามารถนา เอาลายหลักไปประยุกต์และประกอบในการสานงาน
ผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ เช่นตะกร้า ตาแกรง กระจาด กระเป่ าถือ กระเป่ าใส่ของ อื่นๆ
    1. ลายขัดธรรมดา เป็นลายอย่างง่ายๆ ใช้โดยทั่วไปการสานส่วนกันของผลิตภัณฑ์โดยใช้วัสดุแบบกว้าง
ทั้งเส้นตั้งและเส้นนอนจนเป็นเส้นหลักและเส้นโครงของผลิตภัณฑ์ด้วย
วิธีการสานขัด ( ลายขัดแคะหรือเรียกว่าลาย 1 )
1. วางวัสดุเส้นสานโดยทับ 1 เส้น ยก 1 เส้น เส้นสลับกันไปตลอดแนว
2. สอดวัสดุเส้นสานโดยทับ 1 เส้น ยก 1 เส้น สลับกันไปตลอดแนว
3. สานเส้นที่ 2-3-4 คล้ายเส้นที่ 1 แค่ขัดสลับกันไปเรื่อยๆ จนเสร็จตามต้องการ

ตัวอย่างลายขัด ( ลาย 1 )






ลายสองเป็นลายที่ใช้ในการสานงานที่มีพื้นที่กว้างๆ เมื่อต้องการใช้ขึ้นงานมีลายสวยงาม เช่นเสื่อลาแบบมัด หรือนาไปสานส่วนที่เป็นด้านข้างของผลิตภัณฑ์ต่างๆ
วิธีการสานลายสอง
1. งานวัสดุเส้นผืนหลักเรียงทางตั้งตลอดแนว
2. สอดวัสดุเส้นสานโดยทับ 2 เส้น ยก 2 เส้น สลับกันไปเรื่อยๆตลอดแนว
3. สานวัสดุเส้นสานต่อไปโดยเริ่มยกเส้นที่ 2-3 ทับ 2 เส้น ยก 2 เส้น สลับกันไปเรื่อยๆ จนตลอดแนวแล้วทาการสานตลอดไปจะได้แนวที่สวยงาม
ตัวอย่างลายขัด ( ลาย 2 )




การสานลายสามก็คล้ายๆกับการสานลายสอง เพียงแค่ทับเป็น 3 เส้น เป็นลายที่เหมาะสมกับการใช้สานพื้นที่กว้างๆจนเห็นลายที่สวยงาม
วิธีการสานลายสาม
1. วางวัสดุเส้นผืนหลักเรียงตั้งตามแนวตามต้องการ
2. สอดวัสดุเส้นสานโดยยก 1 เส้น ทับ 3 เส้น ยก 3 เส้น และทับ 3 เส้นสลับกันไปเรื่อยๆ
3. สานวัสดุเส้นที่ 2 โดยยก เส้นที่ 1-2 เส้นแล้ว ทับ 3 เส้น ยก 3 เส้น ทับ 3 เส้น สลับกันไปเรื่อยๆ ในการสานลายสามจะได้ลายที่มากกว่าลายที่สอง
ตัวอย่างลายขัด ( ลาย 3 )